The Lord of the Rings: Gollum ผลงานแรกของ Daedalic หลังจากได้สิทธิ์ในการสร้างเกมจาก Middle-earth

Daedalic Entertanement เปิดตัวผลงานเกมใหม่ล่าสุดของพวกเขาออกมาอย่างเป็นทางการ และมันก็จะเป็นผลงานแรกจากลิขสิทธิ์ในการสร้างเกมจากแฟรนไชส์ Middle-earth กับเรื่องราวการผจญภัยในมัชฌิมโลก ในเกมที่ชื่อว่า The Lord of the Rings: Gollum ที่จะเป็นการตีความในแบบที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน

ทีมพัฒนา Daedalic Entertainment อาจจะเป็นทีมงานที่เราไม่ได้รู้จักกันอย่างเป็นวงกว้างมากนัก แต่พวกเขาก็โลดแล่นอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเกมมาเป็นเวลากว่า 12 ปีนับตั้งแต่ที่ได้เริ่มก่อตั้งมาในปี 2007 โดยคุณ Carsten Fichtelmann และ Jan “Poki” Müller-Michaelis โดยมีผลงานเกมในระดับกลางออกมาวางจำหน่ายให้เราได้เห็นกันอย่างมากมาย และยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเกมรายใหญ่ของประเทศเยอรมันอีกด้วย ซึ่งการมาของ The Lord of the Rings: Gollum มันก็หมุดหมายสำคัญของพวกเขาในอีกทศวรรษต่อจากนี้

The Lord of the Rings: Gollum จะเป็นเกมผจญภัยที่เน้นการเล่าเรื่องซึ่งทาง Daedalic ตั้งเป้าหมายที่จะออกวางจำหน่ายให้กับเครื่อง PC และเครื่องคอนโซลต่างๆ ที่ยังคงมีความเชื่อมโยงกับตลาดในปี 2021 ซึ่งมันจะเป็นเกมแรกจากการร่วมมือกับทาง Middle-earth Enterprises บริษัทผู้ถือครองลิขสิทธิ์ต่างๆ จากผลงานหนังสือของ J.R.R. Tolkien นั่นเอง โดยตัวเกมจะใช้เอนจิน Unreal ในการพัฒนาซึ่งการเซ็นสัญญาร่วมกันในครั้งนี้มันคือความต้องการของทาง Daedalic ในการสร้างผลงานที่เต็มไปด้วยความท้าทายที่มากขึ้นหลังจากที่พวกเขาได้เคยสร้างเกมอย่าง Ken Follett’s Pillars of the Earth เกมจากนวนิยายของ Ken Follett มาแล้วนั่นเอง

“เกมแรกที่เรากำลังสร้างอยู่คือ Gollum ครับ ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่มีความขัดแย้งในตัวของเขาซึ่งเขาจะเป็นผู้ดำเนินเรื่องหลักในเกม” คุณ Carsten Fichtelmann ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ GamesBeat ในงาน GDC 2019 “คุณจะได้เห็นตัวละครสองตัวพูดโต้ตอบกันตลอดเวลา ซึ่งจากมุมมองของการเล่าเรื่อง มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับสิ่งที่เราต้องการจะทำต่อไปจากนี้”

เรื่องราวใน The Lord of the Rings: Gollum จะดำเนินเหตุการณ์ในช่วงเวลาเดียวกันกับ The Fellowship of the Ring หนังสือเล่มแรกของไตรภาค The Lord of the Rings โดยจะเล่าผ่านมุมมองของ Gollum ในช่วงก่อนที่เขาจะได้พบกับ Frodo และคณะเดินทางในเหมืองแห่ง Moria

“เราจะเล่าเรื่องราวของเขาจนกระทั่งเขาโผล่ออกมา” ใน The Fellowship of the Ring คุณ Fichtelmann ยังได้เล่าต่ออีกว่า “บางครั้งพวกเขาก็เอ่ยถึงบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นกับ Gollum แต่ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ นั่นแหละครับคือหน้าที่ของเราในการอธิบายว่ามันมีอะไรกันแน่ที่เกิดขึ้น”

การสร้างเกมโดยมี Gollum เป็นตัวละครหลักถือได้ว่าเป็นความท้าทายเป็นอย่างมาก เขาคือตัวละครที่มีความซับซ้อนเนื่องด้วยบุคลิกที่ทับซ้อนกันจากผลของการถูกเอกธำมรงค์เข้าครอบงำเป็นเวลานาน โดยมีอีกหนึ่งบุคลิกคือ Sméagol ที่อยู่ภายในตัว และในเวอร์ชันภาพยนตร์ มันก็เป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของในการใช้เทคโนโลยีโมชันแคปเจอร์ที่ทางนักแสดงอย่าง Andy Serkis สร้างเอกลักษณ์เอาไว้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งหนึ่งในฉากการแสดงของ Andy Serkis ยังเป็นการแรงบันดาลใจอันสำคัญให้กับทีมงาน Daedalic อีกด้วย

Gollum, Polygon

“ในตอนที่คุณได้เล่นเป็น Gollum นั่นหมายความว่าคุณจะได้เล่นเป็น Sméagol ไปพร้อมๆ กัน คุณจะเป็นที่จะต้องตัดสินใจบางอย่าง และบางทีการตัดสินใจ มันก็มาจากส่วนความเป็น Sméagol มากหรือน้อยแตกต่างกันไป และบ้างก็อาจจะมาจาก Gollum เองก็ด้วย คุณจะต้องตัดสินใจด้วยตัวเองว่าคุณอยากที่จะเห็นด้านไหนมากกว่ากัน” คุณ Fichtelman กล่าว “ในตอนที่คุณตัดสินใจบางอย่าง มันอาจจะเป็นผลกระทบจากกลไกของเกม เกมจะจะบังคับและโน้มน้าวให้คุณต้องเลือกจุดยืนจากหนึ่งในสองตัวเลือก และหากพูดถึงในส่วนของตัวละครอื่นๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ในจักรวาล Middle-earth เราจะได้เห็นพวกเขาอยู่รอบๆ ตัว Gollum แน่ๆ ครับ”

สำหรับการเริ่มต้นโปรเจกต์เกมใหม่ในครั้งนี้คุณ Fichtelman ยังได้กล่าวถึงผลงานก่อนหน้าของพวกเขาที่มีความคล้ายคลึงกันนั่นคือเกม Pillars of the Earth จากนวนิยายของ Ken Follett เอาไว้อีกด้วย “การทำสิ่งที่ทะเยอทะยานมันดีกว่าการทำสิ่งที่ทุกๆ ทำมาแล้วครับ” คุณ Fichtelman อธิบาย “ในตอนที่เราเข้าไปคุยกับคุณ Ken Follet เกี่ยวกับการทำเกมจากหนังสือ Pillars of the Earth ที่มีเนื้อหากว่า 1,400 หน้า เราก็บอกกับตัวเองว่า ‘ใช่! นี่มันเข้าท่าเลยนะ เราจะเอาความสดใหม่ใส่เข้าด้วยนะ’ มันเป็นอะไรที่มีความเฉพาะกลุ่มมากๆ แต่จากประสบการณ์ทั้งหมดที่เราได้รับมาจากการสร้างเกม Pillars of the Earth และเกมอื่นๆ ที่เราสร้างรวมไปถึงเกมแอ็กชันอย่าง The Long Journy Home ผมคิดว่าเราก็น่าจะสามารถทำมันได้”

“ทุกอย่างที่เราได้ทำมาจนถึงวิธีการในการเล่าเรื่อง คือเรามีแนวทางของพวกเราที่พร้อม ซึ่งทำให้เราสามารถใส่ความเป็นแอ็กชันเข้าไปยังเกมๆ นี้ได้ด้วย The Lord of the Rings: Gollum จะเป็นเกมแอ็กชันผจญภัยครับ มันจะเป็นเกมแรกของซีรีส์ มันจะมีความพรีเมียม และจะออกวางจำหน่ายในแพลตฟอร์มยังคงอยู่ในปี 2021 ซึ่งหมายความว่าหลังจากการประกาศของ Google (Stadia) และสำหรับ PC และเครื่องคอนโซลที่แน่นอน แต่ด้วยเทคโนโลยีบางอย่างคุณก็อาจที่จะได้เล่นมันใน iPad หรืออื่นๆ อีกด้วย”

Daedalic คือทีมงานที่ประกอบไปด้วยพนักงาน 85 ชีวิตจากสตูดิโอสองแห่งในเมืองฮัมบูร์ก และมิวนิก พวกเขาคว้ารางวัลมาอย่างมากมายในแวดวงการพัฒนาเกมในประเทศเยอรมัน และยังได้เป็นทีมงานยอดเยี่ยมประจำปีในหลายๆ ครั้ง “ในสาขาต่างๆ เรายังคงรักษาสถิติต่างของเราเอาไว้ เราชนะรางวัลมากกว่าบริษัทอื่นๆ ในเยอรมนีจากสองพิธีการเหล่านี้จากเกมที่คุณสามารถหาเล่นได้บน Steam”

แต่ถึงแม้พวกเขาจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมาทางคุณ Fichtelmann เองก็ได้อธิบายว่าตั้งแต่ปี 2018 พวกเขาก็เริ่มสร้างเกมในจำนวนที่น้อยลงกว่าปีก่อนๆ จากการที่ผู้คนเริ่มซื้อเกมที่เน้นไปที่การเล่าเรื่องน้อยลงกว่าเดิมจากที่เคยเป็น มันคือหนึ่งในเหตุผลที่พวกเขาต้องทำการเซ็นสัญญาในการสร้างเกมจาก The Lord of the Rings นั่นเอง

“เราเผชิญหน้ากับสถานการณ์เดียวกันกับที่ Telltale เจอมาในปีที่แล้ว ในตอนที่พวกเขาต้องปิดตัวลง ซึ่งที่จริงแล้วผู้ชมเกมที่เน้นการเล่าเรื่องก็ยังคงอยู่นั่นแหละครับ แต่ปัญหาก็คือผู้ชมก็คือผู้ชมที่ชอบดูเกมประเภทนี้มากกว่า ซึ่งทำให้ในขณะที่คุณสร้างเกมเพื่อเล่นบนเครื่อง PC หรือคอนโซลอยู่ ผู้คนก็อาจจะต้องการเพียงแค่การดูมันบนยูทูบหรือไม่ก็ Twitch” คุณ Fichtelmann อธิบาย “สำหรับเราพวกเรา เราได้เห็นตัวเลขของผู้คนจำนวนมากที่ดูคอนเทนต์เพียงอย่างเดียวบนยูทูบ แต่เราก็ไม่มีหนทางในการแก้ไขและการดึงดูดกลุ่มผู้ชมเหล่านี้”

“แม้ในความเป็นจริงเราได้ออกวางจำหน่ายเกมที่เน้นการเล่าเรื่องหลายต่อหลายเกม และค่อนข้างที่จะได้รับการยอมรับจากนานาชาติในเรื่องของการเล่าเรื่อง ผมก็ยังโทรศัพท์ไปหาพวกเขาทีมงาน Middle-earth Enterprises ที่อยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ เมื่อสี่ปีที่แล้ว เหมือนที่ Peter Jackson ทำเมื่อยี่สิบปีก่อน ผมบอกพวกเขาว่าผมอยากที่จะทำเกมเกี่ยวกับ The Lord of the Rings และนี่แหละคือหนึ่งในหนทางการแก้ไขปัญหาที่การเล่าเรื่องกำลังเผชิญ”

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

Share this article
0
Share
0 Share
0 Tweet
0 Share
0 Share
Shareable URL
0
Share