Valve ได้มีการเปิดตัวเครื่อง PC พกพาสำหรับเล่นเกมออกมาอย่างเป็นทางการแล้วในชื่อ Steam Deck ที่จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Linux ครอบโปรแกรม SteamOS สำหรับเล่นเกมต่างๆ ของทาง Steam โดยเปิดให้ทำการสำรองเครื่องแล้วพร้อมกำหนดส่งมอบในอเมริกาและยุโรปในเดือนธันวาคมนี้ และภูมิภาคอื่นๆ ภายในปี 2022
Steam Deck จะมาพร้อมชิปประมวลผลจาก AMD ที่ประกอบไปด้วย CPU Zen 2 แบบ quad-core และมี 8 เทรดและ 8 หน่วยประมวลผล โดยยังมาพร้อมกับชิปการประมวลผลทางด้านกราฟิก RDNA 2 พร้อมด้วย RAM แบบ LPDDR5 16GB ซึ่งตัวเครื่องจะมีการวางจำหน่ายแยกตามความจุของเครื่องออกเป็น 3 รุ่นประกอบไปด้วย
- รุ่นที่ใช้หน่วยความจุแบบ eMMC ขนาด 64GB ราคา 399 เหรียญ
- รุ่นที่ใช้หน่วยความจุแบบ NVMe SSD ขนาด 256GB ราคา 529 เหรียญ
- รุ่นที่ใช้หน่วยความจุแบบ NVMe SSD ขนาด 512GB ราคา 649 เหรียญ
ซึ่งทาง Valve ได้ยืนยันว่าผู้ใช้งานยังสามารถนำ microSD การ์ดมาเสียเพิ่มหน่วยความจำต่างหากเองก็ได้
โดยตัวเครื่อง Steam Deck จะมาพร้อมกับฟังก์ชันในการควบคุมการทำงานต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น thumbstick ทั้งสองข้าง, trackpad ที่เป็นการต่อยอดมาจาก Steam Controller และยังคงมีการใช้ปุ่มด้านหน้าด้วยเลย์เอาต์แบบ ABXY และ D-pad ตามมาตรฐาน โดยตัวเครื่องจะมี gyroscope สำหรับการใช้ฟังก์ชันตรวจจับการเคลื่อนไหว และยังมีปุ่มทริกเกอร์ด้านบนสองปุ่ม และยังมีทริกเกอร์ด้านหลังให้ใช้งานอีก 4 ปุ่มเลยทีเดียว ซึ่งตัวเครื่องจะมาพร้อมกับจอทัชสกรีนขนาด 7 นิ้วที่ความละเอียด 1280 x 800 พิกเซล แต่จะรองรับการแสดงผลของตัวเกมที่ระดับ 720p เท่านั้น และตัวเครื่องยังมาพร้อมกับไมโครโฟนภายในตัวอีกด้วย
สำหรับในส่วนของแบตเตอรี่ตัวเครื่อง Steam Deck จะใช้แบตเตอรี่ขนาด 40 watt-hour ซี่งจะรองรับการเล่นเกมหลายๆ เกมได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยหากใช้สำหรับการเล่นเกมแบบสตรีมมิง เล่นเกม 2D เบาๆ หรือเล่นเว็บเบราว์เซอร์ แบตเตอรี่ของตัวเครื่องก็จะอยู่ได้อย่างต่ำ 7-8 ชั่วโมง ซึ่งเกมอย่าง Portal 2 ก็สามารถเล่นได้ติดต่อกันถึงสี่ชั่วโมง และหากจำกัดเฟรมเรตไว้ที่ 30 FPS ก็จะสามารถเล่นได้ยาวนานติดต่อกันราว 5-6 ชั่วโมงเลยทีเดียว
และด้วยการที่ตัวเครื่องใช้ระบบ SteamOS ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถหยุดเกมและกลับมาเล่นต่อได้อย่างรวดเร็ว โดยตัวระบบของ SteamOS เองก็ยังสามารถทำให้ผู้ใช้งานกลับมาเล่นเกมต่อได้ทันทีหลังจากปิดเครื่องไปด้วย sleep mode ไปอีกด้วย
นอกจากตัวเครื่อง Steam Deck แล้วทาง Valve จะมีการวางจำหน่ายแท่นวางตัวเครื่องแยกต่างหากอีกด้วย แม้ว่าผู้ใช้งานจะสามารถเชื่อมต่อตัว Steam Deck เข้ากับทีวีได้โดยตรง ซึ่งจะรองรับการเชื่อมต่อทั้งทีวีปกติ, จอมอนิเตอร์, รวมไปถึงจอแบบ CRT อีกด้วย และตัวเครื่องจะมาพร้อมกับพอร์ต USB-C ที่รองรับการทำงานแบบเต็มรูปแบบทั้งในส่วนของการเป็น HDMI, Ethernet, และช่องสำหรับส่งผ่านข้อมูลจาก USB เช่นเดียวกับระบบ Bluetooth ก็จะมีการติดตั้งมาในตัวเครื่องอีกด้วย
สเปคของตัวเครื่อง
- CPU: AMD Zen 2 4c/8t, 2.4-3.5GHz (up to 448 GFlops FP32)
- GPU: 8 RDNA 2 CUs, 1.0-1.6GHz (up to 1.6 TFlops FP32)
- RAM: 16 GB DDR5
- Storage: 64GB, 256GB, 512GB versions; expandable with MicroSD cards
- Display: 7″ diagonal, 1280×800 (16:10) , 60Hz LCD touchscreen
- Audio: Stereo speakers that “pack a punch,” says Valve, 3.5mm stereo jack, dual mics, multichannel USB-C/Bluetooth output
- Controls: Two analog sticks with capacitive touch, D-pad, face buttons, analog triggers, bumpers, assignable grip buttons, “view” and “menu” buttons, gyro
- Trackpads: There’s two of them, and Valve says that they have “55% better latency compared to Steam Controller.”
- Wireless connectivity: Wi-Fi and Bluetooth
- Wired connectivity: USB-C with DisplayPort 1.4 Alt-mode support; up to 8K @60Hz or 4K @120Hz, USB 3.2 Gen 2
- Battery: 40Whr, “2-8 hours of gameplay”
- Size: 11.7″ x 4.6″ x 1.8″ (298mm x 117mm x 49mm)
- Weight: Approximately 1.47 lbs (669 grams)
ในส่วนของทางด้านซอฟต์แวร์ของตัวเครื่อง Steam Deck จะเป็น SteamOS ในเวอร์ชันใหม่ที่มีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการเล่นเกมแบบพกพามากขึ้น โดยตัวระบบปฏิบัติการหลักจะเป็น Linux ที่มีการใช้ Proton ในการทำให้มันสามารถเล่นเกมที่ถูกสร้างมาเพื่อเล่นบน Windows ได้โดยที่ทางผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องทำการพอร์ตเกมมาลงให้กับทาง Steam Deck แต่อย่างใด
แต่โดยเนื้อแท้แล้ว Steam Deck คือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเต็มตัวที่สามารถนำมาใช้งาน Linux ได้ตามปกติ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถนำเอาเมาส์, คีย์บอร์ด, และมอนิเตอร์มาต่อพ่วงได้ และยังสามารถติดตั้งหน้าร้านค้าขายเกมอื่นๆ รวมไปถึงซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งตัว Steam เองก็จะสามารถให้ประสบการณ์ในการใช้งานได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นระบบแชต, การแจ้งเตือน, การรองรับระบบการเซฟแบบคลาวด์, และเกมทุกเกมจากแอคเคาท์ของผู้ใช้งาน รวมไปถึงระบบ Remote Play ที่สามารถสตรีมเกมมาจากเครื่อง PC ก็ได้
สำหรับตัวเครื่องได้มีการเปิดให้ทำการสำรองแล้ว แต่ผู้ที่สำรองตัวเครื่องได้จะต้องเป็นแอคเคาท์ที่มีประวัติการซื้อเกมบน Steam ก่อนเดือนมิถุนายน โดยจำกัดเพียงหนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่องเท่านั้น ซึ่งการสั่งจองนี้จะไม่ใช่การพรีออร์เดอร์ แต่จะเป็นการให้สิทธิ์การพรีออร์เดอร์ไว้ในตอนที่ตัวเครื่องพร้อมสำหรับการวางจำหน่ายนั่นเอง
ซึ่งเครื่อง Steam Deck ล็อตแรกจะมีการส่งไปให้กับประเทศอเมริกา, แคนาดา, สหภาพยุโรป, และสหราชอาณาจักร โดยภูมิภาคอื่นๆ จะมีการส่งมอบภายในปี 2022 ซึ่งทางระบบจะมีการส่งอินไวท์สำหรับให้ทำการพรีออร์เดอร์ไปก่อนเดือนธันวาคมนี้ โดยหากผู้สั่งจองไม่รับอินไวท์ในเวลาที่กำหนด เงินที่จ่ายไปกับการสั่งจองตัวเครื่องจะถูกรีฟันด์เข้าไปยัง Steam Wallet แทน
ทางเกบ นิวเอลล์ (Gabe Newell) หัวเรือใหญ่ของทาง Valve ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงการวางจำหน่ายตัวเครื่อง Steam Deck เอาไว้ว่า “มันมีการตั้งราคาที่ดุดันมีความเสี่ยงและมีความปวดร้าวอยู่พอสมควรในมุมมองของการพัฒนา” ซึ่งมันเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่แตกต่างไปจากที่ Valve เคยใช้ในการวางจำหน่าย Valve Index ที่เป็นแพลตฟอร์ม VR ของพวกเขา ที่เป็นการวางจำหน่ายประสบการณ์ในการเล่นเกม VR แบบไฮเกรดในราคาที่สูงลิ่บลิ่วที่ 999 เหรียญ ซึ่ง Steam Deck ได้มีการวางจำหน่ายด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 399 เหรียญซึ่งแพงกว่า Nintendo Switch (OLED model) เพียง 50 เหรียญเท่านั้น
นอกจากนี้ทางเกรก คูเมอร์ (Greg Coomer) นักพัฒนาของ Steam Deck ยังได้เปิดเผยอีกด้วยว่าหาก Steam Deck ประสบความสำเร็จทาง Valve ก็มีแผนสำหรับการสร้างโมเดลในรุ่นต่อไปแล้ว ด้วยการใช้เทคโนโลยีแบบ “building block” จากเหล่าผู้ผลิตเจ้าอื่นๆ ซึ่งทาง Valve ตั้งเป้าที่จะให้ตัวเครื่องเป็นอุปกรณ์ PC แบบใหม่ในอนาคตนั่นเอง