วิทยาศาสตร์ของชายกลายเป็นหญิงในเกม MMORPG

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามอันสุดแท้แล้วแต่ เชื่อได้เกมเมอร์หลายคนน่าจะเคยได้สวมบทบาทเป็นตัวละครที่ตรงข้ามกับเพศของตัวเองอยู่หลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะกับเกม MMORPG ที่เกมเปิดโอกาสให้เราสามารถสร้างตัวละครได้ แต่เพราะเหตุใดกันล่ะ? ที่ทำให้กระทาชายนักเล่นเกมผู้เจนจัดในสนามการต่อสู้บนโลกออนไลน์เลือกที่จะสร้างตัวละครสาวสวยน่ารักคิขุอาโนเนะ ที่ตรงกันข้ามกับตัวตนจริงเสียเหลือเกิน

เหตุผลหลักที่หลายคนมักเชื่อกันก็คือการที่ตัวละครผู้หญิงนั้นสามารถสร้างสายสัมพันธ์ได้ง่ายกว่าตัวละครผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นการล่อลวงผู้เล่นคนอื่นด้วยมารยาเสน่ห์ในการขอไอเทมที่หายาก หรือการอ้อนวอนให้เหล่าผู้กล้าพาไปลุยบอสสุดหินของตัวเกม ทั้งยังมักได้รับความช่วยเหลือต่างๆ จากผู้เล่นคนอื่นได้โดยง่ายดาย และนอกไปจากนั้น ตัวละครหญิงก็ยังทำให้มันเป็นข้อได้เปรียบสำหรับนักเล่นเกมผู้อ่อนประสบการณ์อีกด้วยที่ทำให้พวกเขาไม่ต้องเจอกับคำด่าถากถางอย่างรุนแรงในโลกออนไลน์หากพวกเขาเหล่านั้นเล่นได้ไม่ดีพอ รวมไปถึงมันก็ยังมีผู้เล่นอีกจำนวนหนึ่งที่พินิจพิจารณามาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าในเกม MMORPG ที่พวกเขาจะต้องใช้เวลานับพันชั่วโมงไปกับตัวเกมแล้ว มันก็คงจะเจริญหูเจริญตากว่าหากได้มองสิ่งที่สวยงาม ตัวละครที่น่าดึงดูดไปตลอดการเล่น ที่ยังมาพร้อมกับตัวเลือกในการตกแต่งที่ดูดีกว่าตัวละครชายเป็นไหนๆ

ffxiv viera

แต่มันจะใช่เหตุผลที่ว่านี้หรือไม่ ทางนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจากอเมริกาและแคนาดาถึง 5 แห่งจึงได้ขออาสาทำการวิจัยพฤติกรรมดังกล่าวจากกลุ่มตัวอย่างของเกมเมอร์จำนวน 375 คนเพื่อมาหาคำตอบให้เราได้ทราบกัน

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Concordia University, Colorado State University, Syracuse University, Hofstra University และ University of Toronto นั้นได้รู้สึกสนใจอย่างมากว่าสภาพทางเพศในสังคมแห่งความเป็นจริงนั้นมันจะส่งผลกับโลกออนไลน์ในเกมหรือไม่ โดยพวกเขาได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเล่นเกมจำนวน 375 คนโดยให้พวกเขาได้ทดลองเล่นเกม World of Warcraft เกม MMORPG ชื่อดัง โดยการทำการปรับแต่งองค์ประกอบบางอย่างของเควสภายในเกมเพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของพวกเขาทั้งการเคลื่อนไหว การพูดคุย และการปฏิสัมพันธ์อื่นๆ โดยในกลุ่มตัวอย่างนั้นมีผู้ชายจำนวนกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ที่เลือกเล่นตัวละครผู้หญิงในขณะที่ผู้เล่นที่เป็นผู้หญิงมีเพียงแค่ 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เลือกเล่นตัวละครชาย

อ้างอิงจากผลการวิจัยที่ได้มีการตีพิมพ์ออกมาในส่วนของข้อมูล, การสื่อสาร และการเข้าสังคม ผู้เล่นที่เป็นผู้ชายและเลือกเล่นตัวละครผู้หญิงนั้นจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากผู้หญิงที่เล่นเป็นตัวละครผู้หญิงเป็นอย่างมาก โดยพวกเขามักจะมีการเคลื่อนไหวที่แปลกประหลาด และจะมีการเคลื่อนที่ถอยหลังบ่อยครั้ง และยังมักที่จะเว้นระยะห่างของตัวละครออกจากกลุ่มเสมอ ซึ่งผู้เล่นชายที่เล่นตัวละครผู้หญิงนั้นยังมีการใช้ emoticon เป็นรูปหน้ายิ้มบ่อยครั้ง และมักจะสร้างตัวละครให้มีความน่าดึงดูดในแบบที่คนทั่วไปชอบ และยังมีการกระโดดไปมามากกว่าผู้เล่นที่เป็นผู้หญิง โดยเฉลี่ยถึง 116 ครั้งเลยทีเดียว

ซึ่งเหล่านักวิจัยเชื่อว่าการที่ผู้เล่นชายส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะเล่นตัวละครหญิงมันก็เป็นเพราะพวกคิดคิดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นจากเหล่าผู้เล่นในเกม และการกระโดดไปมานี้ก็มักทำเพื่อดึงดูดความสนใจมากกว่าปกตินั่นเองไม่ว่าผลลัพธ์ที่ออกมานั้นมันจะไม่มีความแตกต่างกัน และนอกจากนี้ผู้ชายที่เล่นตัวละครผู้หญิงนั้นยังมีพยายามมีความที่จะใช้กลยุทธ์ในการเล่นในแบบวิธีคิดที่พวกเขามักคิดว่าผู้หญิงจะทำกันอีกด้วย ซึ่งมันเป็นกลยุทธ์ที่ไม่เหมือนกับพฤติกรรมของผู้หญิงที่เล่นเกมอยู่จริงๆ เมื่ออยู่ในสถานการณ์เดียวกันอย่างสิ้นเชิง

ffxiv-eorzea

“การค้นพบของเรานั้นเป็นการรองรับให้กับทฤษฎีแนวคิดนิยมสตรี (feminist) ที่ว่าเพศนั้นเป็นหนึ่งในหมวดหมู่อันทรงพลังในสภาพสังคมเป็นอย่างมาก ในที่มาพร้อมกับข้อจำกัดของวิธีการในการเลือกปฏิบัติ” คุณ Mia Consalvo ศาสตราจารย์จาก Concordia University กล่าว “ผู้ชายไม่จำเป็นที่จะต้องพยายามบังหน้าเพศที่แท้จริงไว้ในตอนที่ใช้ตัวละครผู้หญิง แต่ในผลการศึกษาที่เราได้พบเจอ พวกเขาทำก็คือการเสริมสร้างการตระหนักรู้ถึงมโนคติขึ้นมาถึงรูปลักษณ์ของความเป็นหญิงและวิธีการสื่อสารนั่นเอง”

อย่างไรก็ดีงานวิจัยชิ้นเป็นงานวิจัยเมื่อปี 2014 ซึ่งบริบททางสังคมในปัจจุบันอาจทำให้ความคิดของผู้เล่นมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว และนอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างในการทดลองนั้นก็ยังเป็นเพียงแค่กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่อาจชี้ชัดพฤติกรรมของคนส่วนมากได้อีกด้วย ซึ่งยังมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่งานวิจัยชิ้นนี้ยังไม่ได้พูดถึง และนำมาเป็นตัวแปรทั้งในส่วนของแนวเกมการ ระบบของเกม และการออกแบบตัวละคร ที่อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสร้างเพศของตัวละครของผู้เล่นได้เช่นกัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

Share this article
0
Share
0 Share
0 Tweet
0 Share
0 Share
Shareable URL
0
Share