ป่าดงดิบคือบทสรุปของการเติบโตของ “ลาร่า” ใน Shadow of the Tomb Raider

Shadow of the Tomb Raider จะเป็นภาคสุดท้ายของไตรภาค Lara Croft เวอร์ชันรีบูท และนับจากภาคแรกกับ Tomb Raider (2013) มันก็พาเราไปรู้จักกับ Lara Croft ในอีกเวอร์ชันที่มีความสมจริงและมีความเป็นมนุษย์มากกว่า Tomb Raider ภาคที่ผ่านมา พร้อมไปกับการ “พบเผชิญเจริญเติบโต” (Coming of Age) ที่ทำให้เธอเป็นตัวละครที่มีความเข้มแข็งมากขึ้นดังที่เราได้เห็นกันไปแล้วใน Rise of Tomb Raider

ซึ่งแน่นอนว่าใน Shadow of the Tomb Raider เราจะได้เห็นแรงผลักดันที่ทำให้เธอต้องเปลี่ยนแปลงและเติบโตขึ้น ก่อนที่เธอจะได้ชื่อว่า “Tomb Raider” ที่แท้จริงอย่างแน่นอน


ข้อมูลเบื้องต้นของ Shadow of the Tomb Raider

  • ผู้พัฒนา: Eidos Montreal
  • ผู้ผลิต: Square Enix
  • ผู้ออกแบบเกม: Heath Smith
  • ผู้เขียนบทเกม: Jason Dozois และ Jill Murray
  • เครื่องเกมที่วางจำหน่าย: PC, Xbox One, PlayStation 4
  • วันวางจำหน่าย: 14 กันยายน 2018
  • แนวเกม: Action-Adventure

และใน Shadow of the Tomb Raider ก็พาเราไปยังดินแดนสุดขอบโลกอีกครั้งในพื้นที่แห่งใหม่ สถานที่แห่งใหม่ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความลึกลับ หนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยมีมาบนโลก เรื่องราวของ “สุริยะกษัตริย์” ของชนเผ่า “มายัน” ลึกลงไปยังเขตแดนของป่าดงดิบที่ยังไม่มีใครค้นพบของทวีปอเมริกาใต้

Shadow of Tomb Raider Stealth
การพรางตัวเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ถูกกเพิ่มเข้ามาในภาคนี้

คำถามคือหลังจากที่มันพาเราไปผจญภัยบนเกาะลึกลับที่ยังไม่เคยมีใครค้นพบใน Tomb Raider ไปจนถึงเหนือสุดของไซบีเรีย อะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ทีมงาน Eidos Montreal ทีมพัฒนา ผู้รับไม้ต่อจากผู้ให้กำเนิดอย่าง Crystal Dynamic ตัดสินใจที่จะเลือกสถานที่ป่าดงดิบของอเมริกาใต้มาเป็นพื้นหลังของการดำเนินเรื่องใน Shadow of the Tomb Raider

“การที่ป่าดงดิบถูกเลือกมาใช้มันมีหลายเหตุผล มันไม่ใช่เพียงแค่การสร้างความแตกต่างกับเกมภาคก่อนหน้าเท่านั้น แต่ป่าดงดิบจะเป็นการสะท้อนขีดจำกัดของ ลาร่า ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอมี”

Jason Dozois ผู้อำนวยการฝ่ายการเล่าเรื่องของ Shadow of the Tomb Raider

คุณ Jason Dozois ผู้อำนวยการฝ่ายการเล่าเรื่องของ Shadow of the Tomb Raider ได้พูดถึงสาเหตุที่พวกเขาตัดสินใจเลือกพื้นที่ป่าดงดิบนี้ในบทสัมภาษณ์กับทางเว็บไซต์ VG247

“ป่าดงดิบมันมีสภาวะของสิ่งสองสิ่งที่อยู่คู่กัน นั่นคือ ‘ชีวิตและความตาย’ มันคือสถานที่ที่ เต็มไปด้วยโอกาสและความน่าอัศจรรย์ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นพื้นที่ที่เต็มภยันตรายมากที่สุดในโลก เราต้องให้มันมีความรู้สึกเหมือนกับว่าเราอยู่คนเดียวอย่างเพียงลำพังในป่าลึก ที่ซึ่ง Lara ก็จะถูกผืนป่าเปลี่ยนแปลง และการเผชิญหน้ากับ ‘ราชินีแห่งป่าดงดิบ’ อย่าง
‘จากัวร์’ นั้นก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้เธอเปลี่ยนแปลง”

Shadow of Tomb Raider Jaguar
จากัวร์ราชีนีแห่งพงไพร 

“จากัวร์จะใช้สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวในการพุ่งเข้าโจมตีและวิ่งหนี ราวกับว่ามันล่องหนได้ และคุณก็จะไม่รู้เลยว่ามันกำลังจ้องมองคุณอยู่ในที่แห่งไหน นั่นคือความหวาดกลัวที่คุณจะได้รับจากการเล่น และความหวาดกลัวที่คุณได้รับนั้น ก็คือสิ่งที่จะแปรเปลี่ยนกลายเป็นอาวุธของคุณในการต่อกรกลับเหล่า Trinity (องค์กรตัวร้ายของเกม Tomb Raider) ในภายหลัง มันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับเกมการเล่น ที่คุณจะต้องใช้ทั้งผืนป่า และความหวาดกลัวในการวิวัฒนาการก้าวผ่านข้ามไปอีกขั้น”

Paititi นครลับสาบสูญของชาวอินคา

Tomb Raider (2013) ถือได้ว่าเป็นภาคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเกมในซีรีส์ Tomb Raider กับการนำเอาตัวละคร Lara Croft มาตีความใหม่อีกครั้ง และเล่าเรื่องราวในรูปแบบของการเปลี่ยนผ่านและการเติบโต แม้ Rise of Tomb Raider จะดำเนินเรื่องราวต่อในรูปแบบของการใส่ความเป็นแอ็กชันมากขึ้น แต่มันก็ไม่มีการนำเสนอการเติบโตของ Lara ที่เปลี่ยนแปลงไปให้เราได้เห็นมากนัก

แต่ถึงกระนั้นเราก็เชื่อว่าทีมพัฒนา Eidos Montreal ก็คงรู้ถึงจุดด้อยข้อนั้นเป็นอย่างดี และก็เชื่อได้เลยว่าใน Shadow of the Tomb Raider เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตครั้งสุดท้ายของเธออย่างแน่นอนก่อนที่เธอนั้นจะกลายเป็น ‘นักล่าสุสาน’ ฉายา “Tomb Raider” อย่างอย่างเต็มตัว


เกร็ดเล็กที่ไม่น้อย: 

  • Eidos Montreal ผู้รับช่วงต่อจากทีมพัฒนา Crystal Dynamic ผู้พัฒนาเกม Tomb Raider คือู้สร้างเกม Deus Ex: Human Revolution และ Deus Ex: Mankind Divided
  • เกม Deus Ex: Human Revolution คือเกมที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับ Tomb Raider (2013) 
  • Tomb Raider ภาคต้นฉบับเมื่อปี 1996 เป็นเกมแรกๆที่มีการใช้โมเดล 3 มิติเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนากว่า 3 ปีของทีมงาน Core Design ที่มีพนักงานเพียงแค่ 6 คนเท่านั้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

Share this article
0
Share
0 Share
0 Tweet
0 Share
0 Share
Shareable URL
Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

0
Share